วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

กองลูกเสือชั้นดี...แห่ง สงขลาวัฒนา


ข่าวในประเทศอังกฤษ
รายงานการจัดตั้งกองลูกเสือ
ในประเทศสยาม

นับว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างสำคัญของเหล่า นักเรียนโรงเรียนสงขลาวัฒนา ก็คือ การได้ผ่านช่วงชีวิตของการเป็นลูกเสือ หรือ อนุกาชาด (ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นเหล่าเนตรนารี)
แน่นอนว่า...โรงเรียนสงขลาวัฒนา กับ กิจการลูกเสือของพระเจ้ากรุงสยาม นั้น ได้รับการยอมรับว่ามีความยิ่งใหญ่ และเกรียงไกรไม่แพ้โรงเรียนดังใด ๆ ในประเทศ

ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ แห่งกิลเวลล์
ผู้ก่อกำเนิดลูกเสือโลก
เหตุเพราะ ความผูกพัน และความศรัทธาในพระบารมีแห่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่คุณลุงสมนึก เพชรพริ้มมีต่อพระองค์นั้น มีมากมายมหาศาล ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่า เหตุใด กองลูกเสือโรงเรียนสงขลาวัฒนา มักจะได้มีโอกาสได้รับใช้สังคมในกิจการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอยู่เนือง ๆ

จุดเริ่มต้นจากสายพระเนตรที่ยาวไกลของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะสร้างให้เยาวชนของชาติได้เติบโตขึ้นมามีความพร้อมทั้งร่างกาย, จิตใจ และทีสำคัญคือการเป็นคนไทยที่มีหัวใจรักชาติอย่างมั่นคง

ภายใต้สถานการณ์คุกคามในยามนั้น จะมีสิ่งใดที่จะดีไปกว่าการสร้างความรัก,ความสามัคคี และความกลมเกลียวของคนในชาติ ทุกระดับชั้นและที่สำคัญคือ เด็ก  ๆ

นับแต่กิจการลูกเสือกำเนิดขึ้นในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยลอร์ด เบเดน เพาเวล ( Lord Barden Powell) ที่น่าภาคภูมิใจก็คือ เราเป็นอันดับสามของโลกที่ได้มีการสถาปนากิจการลูกเสือขึ้นในแผ่นดินสยามต่อจาก อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา


เครื่องหมายประจำกองของ K.S.O.
 ในขณะนั้นกิจการลูกเสือในประเทศอังกฤษแพร่หลายมากขึ้น ทางราชการอังกฤษจึงมีระเบียบให้จดทะเบียนและขนานนามกองลูกเสือให้เหมาะสม นายซิดนีย์ ริสเชิส ( Sydney Riches) ซึ่งบิดาเคยดำรงตำแหน่งกงสกลสยามกิตติมศักดิ์ได้มีหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขนานนามกองลูกเสือที่เขาตั้งขึ้นเป็นผู้บังคับการว่า King of Siam’s Own Troop of Boy Scouts ( กองลูกเสือในสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามมีชื่อย่อว่า K.S.O. ) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม รวมทั้งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราช้างเผือเป็นตราประจำกองลูกเสือด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามความประสงค์ของกองลูกเสือดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. 2455 (เครื่องหมายประจำกองของ K.S.O. เป็นตราช้างเผือกอันเป็นสัญญลักษณ์ของกรุงสยามประทับลงบนธงยูเนียนแจ๊ก (Union Jack) ซึ่งเป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร)

ทั้งนี้กองลูกเสือนี้ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่งในนามของกองลูกเสือในสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามมาจนถึงปัจจุบัน

ลูกเสือสมุทร
ภาพประกอบ
 ราวเดือนธันวาคม 2523 ถึงต้นปี มกราคม 2524 ประเทศไทยได้มีโอกาสต้อนรับคณะลูกเสือโลกที่มาเยือนประเทศไทย ในโอกาสงานฉลองพระราชสมภพครบ 100 ปี ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งในตอนนั้น คณะกรรมการจัดงาน ซึ่งมี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นประธาน ได้มีมติให้คณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ แต่งตั้งคุณลุงสมนึก เพชรพริ้ม และนายสุทัศน เมาลีกุล หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรมพลศึกษา ทำหน้าที่ดูแลคณะลูกเสือที่มา และได้มีการแวะมาเยี่ยมเยียน โรงเรียนสงขลาวัฒนาด้วย

ใครที่เป็นลูกเสือ ทั้งลูกเสือสามัญ,ลูกเสือสมุทรเสนา และเหล่าเนตรนารี ในยุคนั้น คงจดจำความตื่นเต้นและบรรยากาศการต้อนรับลูกเสือต่างชาติที่เป็นแขกบ้าน แขกเมืองกัน


พวกเรานึกตกใจ เมื่อเห็นลูกเสือฝรั่งอะไรจะตัวโตใหญ่ บางคนผิวดำ บางท่านตัวแดงเป็นลูกตำลึงเพราะแดดร้อน... หลายคนจำได้ถึงการยืนเรียงแถว ต้อนรับคณะฝรั่ง มือซ้ายเล็ก ๆ ของเด็กที่สัมผัสมือกับฝรั่งตัวโต พร้อมแสดงท่าตะเบ๊ะเคารพกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ความเป็นลูกเสือนั้น ไม่มีพรมแดนใด ๆ มากั้นมิตรภาพ

ฉันจำได้ว่า..ฝรั่งหลายคน..แสดงท่าแปลกใจ และยิ้มอย่างชื่นชม ที่เห็น ลูกเสือสงขลาวัฒนาบางคน สวมเครื่องแบบ “ลูกเสือสมุทรเสนา”  ทำเอาเด็กหลายคนที่สวมเครื่องแบบวันนั้นก็รู้สึกปลื้มไปตาม ๆกัน...

          ...... แน่นอนว่า.....ในหลายคนที่แอบปลาบปลื้มนั้น มีฉันรวมอยู่ในนั้นด้วย.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น